สวนลุงสงวน จังหวัดปราจีนบุรี ยินดีต้อนรับทุกท่าน

สวนลุงสงวน  จังหวัดปราจีนบุรี  ยินดีต้อนรับทุกท่าน









































































































เทศกาลคริสมาสต์ที่ใกล้เข้ามานี้ เรามาหาต้นไม้สีแดงกันดีกว่า

❤️ สีแดงของใบประดับเปรียบเสมือนโลหิตของพระเยซูใบสีเขียวหรือขาวแทนความบริสุทธิ์ และรูปทรงยอดที่กระจายออกก็มีลักษณะคล้ายดวงดาวแห่ง Bethlehem...

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563

มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง

เริ่มทาบกิ่งพันธุ์  ตั้งแต่วันที่  21  มิถุนายน  2563  คาดว่าจะตัดกิ่งพันธุ์ได้ก็ประมาณเดือน  กันยายน  2563

 







ขนุนจำปากรอบ

เริ่มทาบกิ่งพันธุ์  ตั้งแต่วันที่  1  มิถุนายน  2563  คาดว่าจะตัดกิ่งพันธุ์ได้ก็ประมาณเดือน  กันยายน  2563




























วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2563

มะม่วงน้ำดอกไม้ เบอร์ 4

เริ่มทาบกิ่งพันธุ์  ตั้งแต่วันที่  21  มิถุนายน  2563  คาดว่าจะตัดกิ่งพันธุ์ได้ก็ประมาณเดือน  กันยายน  2563











วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2563

คำแนะนำการปลูกมะม่วง

การเตรียมพื้นที่

พื้นที่ดอน  ปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ  

พื้นที่ลุ่ม  ควรยกร่องให้สันร่องสูงกว่าระดับน้ำที่เคยท่วมสูงสุด  0.5 - 1.0  เมตร  ปลูกมะม่วงบนสันร่อง  ระยะระหว่างสันร่อง  6 - 8  เมตร  ร่องน้ำกว้าง  1.0 - 1.5  เมตร

การเลือกต้นพันธุ์มะม่วง

  เป็นพันธุ์ที่คัดเลือกจากสวนหรือแหล่งพันธุ์ที่เชื่อถือได้
  ต้นพันธุ์ได้จากการขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ  เช่น  การทาบกิ่ง  การเปลี่ยนยอด  เป็นต้น
  ต้นมีความสูงมากกว่า  60  เซนติเมตร  มีระบบรากแข็งแรงไม่ขดหรืองอ

ระยะการปลูก

  ระยะปลูกทั่วไป  คือ  ระยะระหว่างแถว  6 - 8  เมตร  ระหว่างต้น  6 - 8  เมตร
  ระบบการปลูกชิด  เช่น  ปลูกระยะ  4 x 4  เมตร  ได้จำนวนต้นและผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่มาก  ขณะที่การลงทุนเพิ่มมากขึ้น 
  มีการควบคุมทรงพุ่ม  และการจัดการมากยิ่งขึ้นกว่าระยะปลูกปกติ

ขั้นตอนการปลูก

  ขุดหลุมปลูกขนาด  50 x 50 x 50  เซนติเมตร  กรณีพื้นที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ  ควรขุดหลุมให้มีขนาดใหญ่ขึ้น  และใช้วัสดุปรุงดินเพิ่มมากขึ้น
  วัสดุปรุงดินที่ใช้กับหลุมขนาดปกติ  ประกอบด้วยปุ๋ยอินทรีย์  5 - 10  กิโลกรัม  ปุ๋ยเคมี  สูตร  15-15-15  อัตรา  200 - 300  กรัม  คลุกเค้ากับดิน  นำมะม่วงออกจากถุงแล้วปลูกมะม่วงลงกลางหลุม  ปักหลักยึดต้นกับการโยกคลอน  แล้วใช้มีดกรีดเอาพาสติกบริเวณรอยต่อระหว่างยอดพันธุ์กับต้นตอออก
  ในแหล่งปลูกที่มีลมแรงควรปลูกไม้บังลมเป็นแถว  หรือเป็นแนวขวางทิศทางลมล่วงหน้าหรือปลูกพร้อม ๆ กับการปลูกมะม่วง  เช่น  สะเดา  หรือไผ่  ก็ได้

ฤดูปลูก

ต้นฤดูฝนเหมาะสมที่สุด  มะม่วงที่ปลูกจะมีการเจริญเติบโต  และตั้งตัวได้ก่อนถึงฤดูแล้ง  แต่หากมีระบบการให้น้ำก็สามารถปลูกมะม่วงได้ทุกฤดูกาล

Stitch & Angel | Line Sticker | วอลเปเปอร์ดิสนีย์, สติกเกอร์, การ ...



วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2563

การปลูกมะม่วงให้โตเร็ว ๆ

การปลูกต้นไม้ก็ต้องดูดินบริเวณที่จะปลูกด้วยว่าดินเป็นดินดีหรือไม่  ถ้าเป็นดินดีก็ไม่มีปัญหา  ขุดลงไปประมาณ  1  เมตร  เพื่อทำให้ดินร่วนซุยเป็นวงกว้างหน่อยเผื่ต้นไม้โต  แล้วค่อยเอาดินปลูกต้นไม้มาผสมกับดินที่ขุดขึ้นมา  เอาดินลงหลุมพอประมาณ  แล้วเอาต้นมะม่วงลงปลูก  ให้โคนต้นได้ระดับปากบ่อ  แล้วกลบดิน  หาหลักมาปักให้ต้นอ่อนยึดตั้งตัวได้สักระยะหนึ่ง  ผูกด้วยเชือกฟาง  แล้วรดน้ำให้ชุ่ม  เช้าเย็น

หลังจากการปลูกใหม่ๆ ถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำให้ทุกวัน  และค่อยๆ ห่างขึ้น  เช่น  3-4  วันต่อครั้ง  จนกว่าต้นมะม่วงจะตั้งตัวได้  การให้น้ำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในการปลูกมะม่วงเพื่อให้ผลได้อย่างเต็มที่การให้น้ำอย่างเพียงพอตามที่ต้นมะม่วงต้องการจะช่วยให้ต้นมะม่วงเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ  ไม่ชะงักการเจริญเติบโตทำให้ได้ผลเร็วขึ้น  การปลูกมะม่วงในที่ที่น้ำไม่อุดมสมบูรณ์ควรจะกะเวลาปลูกให้ดี  ให้ต้นกล้ามะม่วงได้รับน้ำฝนนานที่สุด  เพื่อต้นจะได้ตั้งตัวได้ก่อนที่จะถึงฤดูแล้ง

ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์  เช่น  พวกปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก  ให้เป็นประจำทุก ๆ ปี  เพื่อปรับปรุงดินให้ร่วนซุยเหมาะต่อการเจริญเติบโตของต้นมะม่วง  การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อาจใส่ปีละ  2  ครั้ง  คือ  ต้นฝนและปลายฝน  ปุ๋ยอินทรีย์แม้จะมีธาตุอาหารที่พืชต้องการไม่มากนัก  แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อดินในด้านอื่นๆ  นอกจากจะช่วยทำให้ดินดีขึ้นแลัว  ยังช่วยให้ปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปนั้นถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น

ปุ๋ยวิทยาศาสตร์  เป็นปุ๋ยที่ให้ประโยชน์แก่ต้นพืชอย่างรวดเร็วและมีธาตุอาหารมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ในดินที่ค่อนข้างขาดธาตุอาหารจึงควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ให้บ้าง  จะทำให้ต้นโตเร็ว  สมบูรณ์  ให้ดอกให้ผลได้มากและสม่ำเสมอ  ปุ๋ยวิทยาศาสตร์อาจให้ตั้งแต่ระยะเป็นต้นกล้า  โดยใช้ปุ๋ยแอมโมเนี่ยมซัลเฟต  2-4  ช้อนแกงผสมน้ำ  1  ปีบ  รดที่ต้นกล้าเดือนละ  2  ครั้ง  จะช่วยให้ต้นกล้าโตเร็ว  แข็งแรงสามารถนำไปปลูกหรือใช้เป็นต้นตอได้เร็ว  และเมื่อนำต้นมะม่วงไปปลูกในแปลงจริง  การใส่ปุ๋ยแอมโมเนี่ยมซัลเฟตหรือปุ๋ยคอกใส่รองก้นหลุมก็จะช่วยให้รากเจริญเติบโตได้ดี  ทำให้ต้นตั้งตัวเติบโตเร็ว  ส่วนต้นมะม่วงที่โตแล้ว  แต่ยังไม่ให้ผล  อาจใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร  4-7-5  หรือ  4-9-3  ใส่ให้แก่ต้นเพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดิน  สำหรับต้นมะม่วงที่ให้ผลแล้ว  อาจใช้ปุ๋ยสูตร  15-15-15  หรือ  16-16-16  ซึ่งเป็นสูตรใช้กับผลไม้ทั่วไป  อย่างไรก็ตาม  การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาก่อนเพื่อให้ได้ผลอย่างเต็มที่  ไม่เกิดการสูญเปล่า  เพราะความอุดมสมบูรณ์ของดินและสภาพแวดล้อมต่างๆ  ของแต่ละท้องที่ย่อมไม่เหมือนกัน  อีกประการหนึ่งต้นมะม่วงเป็นไม้ผลที่มีขนาดใหญ่  รากสามารถหยั่งลึกหาอาหารได้ไกลๆ ถ้าดินนั้นเป็นดินดี  อุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหารอยู่แล้วก็อาจไม่ต้องใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เลยก็ได้  การปรับปรุงดินโดยการใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอยู่เสมอก็เพียงพอ


French Bulldog PIGU-Sticker VIII ในปี 2020 (มีรูปภาพ) | ลูกหมา ...

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2563

เทคนิคการดูแลตัดแต่งกิ่งมะม่วงให้ต้นเตี้ย

การดูแลตัดแต่งกิ่งมะม่วงให้ต้นเตี้ย

เป็นหนึ่งในเคล็ดลับความสำเร็จของกิจการสวนมะม่วง  การที่จะให้ลำต้นเตี้ยมาก  เพราะควบคุมแรงงานให้คอยตัดแต่งกิ่ง  1  เมตร  เป็นประจำทุกปี  ทำให้มีลำต้นเตี้ย  ง่ายต่อการดูแลเก็บเกี่ยวผลผลิต  ขณะที่ชาวสวนมะม่วงโดยทั่วไปอาจจะยังไม่กล้าตัดแต่งกิ่งมากนัก  เพราะเสียดายผลผลิตรุ่นใหม่ที่จะงอกขึ้นมาตามยอดใหม่ของกิ่งมะม่วงนั้้นเอง


มะม่วงนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่ง 



สติ๊กเกอร์ไลน์ฟรี] A lot of cats สติกเกอร์เคลื่อนไหว ภาพการ์ตูน ...

มะม่วง














การอบรมเจ้าหน้าที่หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เรื่อง การขยายพันธุ์พืช (รอบที่ 1)

การอบรมเจ้าหน้าที่หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เรื่อง การขยายพันธุ์พืช   (รอบที่  1)
เพื่อเสริมความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ ในเรื่องการขยายพันธุ์พืช วันที่ 6 มิถุนายน 2559

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

การอบรมเจ้าหน้าที่หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เรื่อง การขยายพันธุ์พืช (รอบที่ 2)

การอบรมเจ้าหน้าที่หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เรื่อง การขยายพันธุ์พืช   (รอบที่  2)
เพื่อเสริมความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ ในเรื่องการขยายพันธุ์พืช วันที่ 21 มิถุนายน 2559

2

2

กิจกรรมจากโรงเรียนมารีวิทยาจังหวัดปราจีนบุรีศึกษาพันธุ์มะม่วง

กิจกรรมจากโรงเรียนมารีวิทยาจังหวัดปราจีนบุรีศึกษาพันธุ์มะม่วง































การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ

การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ

ทำความรู้จักมะม่วง

มะม่วงมีกี่ชนิด

มะม่วง เป็นผลไม้เศรษฐกิจของประเทศไทยที่สามารถส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลก ในประเทศไทยมีมะม่วงมากกว่า 170 สายพันธุ์ แตกต่างกันทั้งรูปร่างลักษณะ และรสชาติ จนผู้บริโภคเลือกแทบจะไม่ถูกว่าจะรับประทานพันธุ์ไหน สุกแค่ไหน ให้อร่อย

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับผู้บริโภค ด้วยสายพันธุ์ที่หลากหลาย เราจึงแบ่งมะม่วงออกเป็น 3 ประเภท ตามความนิยมในการรับประทาน

1. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานดิบ คือ มีรสหวาน มัน แต่พอสุกจะมีรสหวานชืด ไม่อร่อย หรือบางสายพันธุ์มีรสเปรี้ยว นิยมรับประทานกับน้ำปลาหวาน เช่น

- มะม่วงเขียวเสวย รสมันอมเปรี้ยว

- มะม่วงแรด รสชาติอมเปรี้ยว

- มะม่วงฟ้าลั่น มีรสมัน

2. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานสุก คือ มีรสเปรี้ยวตอนที่ยังดิบ แต่เมื่อสุกแล้วเนื้อมะม่วงจะเหลือง หวาน อร่อย นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวมูน เช่น

- มะม่วงน้ำดอกไม้

- มะม่วงอกร่อง

3. สายพันธุ์ที่นิยมนำมาแปรรูป คือ เมื่อแก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว หรือหวานชืด จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็น มะม่วงดอง มะม่วงกวน และอื่นๆ เช่น

- มะม่วงแก้ว หรือที่เรียกกันว่า ‘มะม่วงอุตสาหกรรม

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับเกษตรกร : แบ่งมะม่วงออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มมะม่วงในฤดู

1. มะม่วงในฤดูรับประทานสุก ได้แก่

- อกร่องทอง มีร่องตื้น ตรงกลางด้านหน้าผล เป็นมะม่วงอกร่องที่กลายพันธุ์มาจากอกร่องเขียว แต่มีลักษณะคล้ายกับอกร่องเขียว แตกต่างจากอกร่องเขียวที่ขนาดผลใหญ่กว่า และผลดิบมีสีเขียวอ่อน เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่มีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเหลืองทองหรือเหลืองอมส้ม เนื้อผลละเอียด สีเหลืองอ่อนหรือสีครีม มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก และหวานมากกว่ามะม่วงทุกชนิด

- อกร่องเขียว เป็นมะม่วงอกร่องพันธุ์ดั้งเดิม ผลดิบมีสีเขียวอ่อน และมีนวล เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่หรือผลห่ามมีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเปลือกเขียวอ่อน มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก

- อกร่องไทรโยค เป็นมะม่วงอกร่องที่มีกลิ่นหอมนาน หวานสนิท

- อกร่องพิกุลทอง ผลใหญ่กว่าอกร่องปกติสามเท่า รสชาติก็ธรรมดา ไม่เป็นที่นิยมนัก

- พิมเสนแดง ผลสุกจะมีรสชาติหวานหอมอร่อยมาก โดยเฉพาะกลิ่นจะหอมชื่นใจคล้ายกับกลิ่นหอมของมะม่วงมหาชนก แต่จะมีความหวานเย็นมากกว่า ส่วนสีของผลสุกจะเป็นสีแดงอมส้มสวยงาม

- นาทับ เวลาสุกเนื้อจะละเอียด เหนียวแน่นไม่เละไม่มีเสี้ยนรสชาติหวานหอมคล้ายเนื้อ

มะม่วงอกร่อง

- แก้วลืมรัง ผลไม่ใหญ่ เรียวยาว มน แบนนิดๆ ปลายผลเรียวงอนิดๆ ผลสุกหวานอร่อยมาก เนื้อแน่น กินกับข้าวเหนียวมะม่วงอร่อย นิยมส่งออก สายพันธุ์ไม่แพร่หลาย เป็นมะม่วงเฉพาะถิ่น

- หนังกลางวัน (มะม่วงงาช้าง) ผลใหญ่ รสชาติหวานหอมอ่อนๆ รสไม่จัด เนื้อเหนียวแน่น เนื้อมากเมล็ดบาง เป็นมะม่วงนิยมส่งออก

- ยายกล่ำ ผลสุกเนื้อจะมีรสชาติหวาน ไม่เละแม้สุกงอม ไม่มีเสี้ยน รับประทานอร่อยมาก ผล

ดิบรสเปรี้ยวจัดใช้คั้นน้ำปรุงอาหารแทนน้ำมะนาวได้

- ทองดำ ผลสุก เปลือกสีเขียวเข้ม เนื้อสีส้ม รสชาติหวานมัน

- แรด ผลสุกจะมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม

- การะเกด ผลสุก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้ม หวานหอม ไม่มีเสี้ยน เนื้อเยอะไม่เละแม้เนื้อจะสุกงอม เมล็ดไม่ใหญ่ ส่วนผลดิบ รสชาติเปรี้ยวจัดนำไปปอกเปลือกแล้วสับเป็นฝอยปรุงเป็นยำมะม่วงใส่ยำชนิดต่างๆ หรือใส่น้ำพริกแทนการใช้น้ำมะนาวเพิ่มรสชาติให้มีกลิ่นหอมเปรี้ยวกรอบรับประทานอร่อยมาก

- หมอนทอง มีขนาดลูกที่ใหญ่มาก บางลูกหนักเป็นกิโลกรัม เนื้อเยอะเสี้ยนน้อย เมล็ดลีบ

เปลือกบาง กลิ่นหอม รสหวาน

2. มะม่วงในฤดูรับประทานดิบ ได้แก่

- เขียวเสวย ผลดิบ ผิวเปลือกจะมีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่ผิวเปลือกจะออกสีนวล เนื้อเป็นสีขาวจะมีความละเอียด กรอบ มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย รสเปรี้ยว เมื่ออ่อน เมื่อแก่จัดจะมีรสมัน

- หนองแซง ผลดิบ มีรสชาติ มัน ตั้งแต่ลูกยังเล็ก หวานกรอบ ผลแก่ มีรสชาติ มัน หวานกรอบ ผลสุก มีรสชาติ หวาน

- แก้ว ผลดิบมีรสเปรี้ยวไม่มาก เนื้อหนา และมีความกรอบ ส่วนผลสุกมีสีเหลืองทอง หรือ

เหลืองอมแดง เนื้อนุ่มเหนียว ไม่เละง่าย และมีความหอมหวาน

- แห้ว สายพันธุ์เบา แตกใบรูปเหมือนคันร่มหรือทรงฉัตร ลูกเล็กรสจืด

- มันค่อม ผลดิบสีเขียว ห่ามสีเขียวอมเหลือง รสชาติมันกรอบปนหวาน

- สายฝน รสมันไม่เปรี้ยวแม้ผลยังเล็ก ลักษณะผลคล้ายมะม่วงแก้ว มีกลิ่นหอม

- เจ้าคุณทิพย์ เป็นมะม่วงมัน รสชาติดี

- สวนทิพย์พระยาเสวย (อีหมู) เป็นมะม่วงมันตั้งแต่ยังเล็ก

- ฝรั่งตกตึก มีกลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองทอง กรอบ อร่อย อมเปรี้ยวนิดๆ

- ฟ้าลั่น รสชาติมัน กรอบ

- มันขุนศรี ผลดิบมีรสเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ และกรอบ

3. มะม่วงแปรรูป ได้แก่

- แก้ว 007 ผลใหญ่ เนื้อหนาแน่น เหมาะทั้งการนำมาแปรรูป รับประทานดิบ และสุก

- พิมเสนสามปี รสชาติจะเปรี้่ยวหวาน เนื้อมะม่วงสีเหลือง มีเสี้ยน

- แก้วแดง เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวเข้ม และมีจุดประสีขาว เมื่อห่ามมีสีเขียวอม

เหลือง ส่วนผลสุกเปลือกจะมีสีเหลือง เนื้อด้านในมีมีสีแดงหรือแดงเข้ม

- แก้วเขียว เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวอ่อน คล้ายกับสีของมะม่วงอกร่อง ส่วนเนื้อผล

ด้านในมีสีขาว กรอบ มัน เมื่อสุก เปลือกผลมีสีเหลืองอ่อนหรือสีครีม

4. มะม่วงประกอบอาหาร ได้แก่ พันธุ์เบาปักษ์ใต้ มะม่วงกินสุกที่มีรสเปรี้ยว มะม่วงประกอบอาหารในที่นี้ ได้แก่ มะม่วงที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการยำ

5. มะม่วงพันธุ์ต่างๆ ได้แก่

- อาร์ทูอีทู ออกผลตามฤดูกาล ติดผลดกมาก รูปทรงผลกลม คล้ายผลแอปเปิ้ล ผลดิบ เป็นสีเขียวอ่อน เมื่อผลสุกสีของผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวอมชมพูเป็นสีเหลืองอมแดงสวยงามสะดุดตา เมื่อสุกมีกลิ่นหอม รสชาติรสหวานอ่อน เนื้อละเอียดเนียน สีเหลืองส้มไม่มีเสี้ยน มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย

- มหาชนก มะม่วงมหาชนกมีลักษณะสีผิวสวย เมื่อดิบสีผิวเขียวเรียบเนียน ส่วนรสชาติ

จะเปรี้ยวจัด เมื่อผลแก่จะมีสีเขียวอมแดง และเมื่อสุกจัดจะมีสีเหลืองทองอมส้มหรือสีแดงแก้มแหม่ม เนื้อแน่น แต่เมื่อแก่จัดและสุกจะมีรสชาติหวาน และมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์

- งามเมืองย่า ผลดิบ เนื้อหนา ละเอียด กรอบ ไม่มีเสี้ยน รสชาติมันหวานปนเปรี้ยว เนื้อสุกแน่น กลิ่นหอม ไม่หวานจัด

- ทอมมี่แอทกินส์ ผิวสีชมพู เนื้อหนาหยาบ มีกากใยมาก ผลดิบมีรสเปรี้ยวนิดๆ ผลสุกรสหวาน ผลกลมแต่เล็กกว่า อาร์ทูอีทู แต่มีกลิ่นยางแรง คล้ายกลิ่นขี้ใต้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา

- ฮารูมานิส ผลใหญ่ มีรสหวาน นิยมรับประทานสด หรือคั้นน้ำเป็นเครื่องดื่ม มีสีเหลืองอ่อนปน

เขียว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย

- เคียตท์ ผิวสีเขียวเรื่อแดง รสหวานอมเปรี้ยว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกาฯลฯ

กลุ่มมะม่วงนอกฤดู

1. มะม่วงนอกฤดูรับประทานสุก (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- ศรีสยาม รสหวาน เนื้อสีเหลืองสด

- สามฤดู ผลสุกรสหวานใกล้เคียงกับเนื้อสุกของมะม่วงอกร่อง เนื้อเป็นสีเหลือง แน่นเหนียวไม่เละ มีเสี้ยนบ้างเล็กน้อย มีรสชาติดีทั้งขณะผลยังดิบและผลสุก โดยผลดิบรสชาติจะเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ กรอบอร่อยมาก

- เขียวเสวย ผลสุก ผิวของเปลือกจะเป็นสีเขียวปนเหลืองสีของเนื้อเป็นสีเหลือง ลักษณะเนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อย และมีรสหวาน

- โชคอนันต์ เนื้อหนา แน่น ผลสุกจะหวาน

- น้ำดอกไม้สีทอง กลิ่นหอม รสหวานอร่อย เสี้ยนน้อย เมล็ดบาง

- อกร่องพิกุล (นวลจันทร์) เนื้อแน่น กลิ่นหอมไม่มีเสี้ยน รสหวานอร่อย ผลแก่จัดและผลสุกผิวเปลือกสีเหลืองอมส้ม

- น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน มีรูปทรงของผลสวยงาม ผลมีขนาดไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป รสชาติผลสุกหวานหอมอร่อยมาก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้มหอมชื่นใจมาก รสชาติผลดิบเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ

- น้ำดอกไม้ลำผักชี

- น้ำดอกไม้นายตำรวจ

- น้ำดอกไม้หมอไมตรี

- น้ำดอกไม้สีม่วง

- เทพนิมิต

2. มะม่วงนอกฤดูรับประทานดิบ (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- มันบ่อปลา (มันเมืองสิงห์) รสชาติมัน

- ไอยเรศ

- มันทวาย ผลแก่รสชาติมัน ผลสุกรสชาติหวาน

- กำแพงแสน

- ศาลายา (ทูลถวาย) รสชาติมัน หวานอมเปรี้ยว กรอบ ฉ่ำน้ำ

- พิมเสนมันทวาย ผลโตปานกลาง ผลดิบสีเขียวอมเหลือง รสมัน หวานอมเปรี้ยว เนื้อผลสุกสีเหลืองเข้ม รสหวานอร่อย

- เหลืองประเสริฐ

- เขียวเสวยสายพันธุ์รจนา รสชาติมันอร่อยกว่าเขียวเสวยธรรมดา แต่ลูกเล็กกว่าหัวมนปลายแหลม ผิวมัน

- มันเดือนเก้า รสชาติมันอมเปรี้ยว ผลแก่มักนำมาแช่อิ่ม

- เพชรบ้านลาด รสชาติมันอร่อย มีกลิ่นหอมยาง

- มันทูลเกล้า รสชาติมัน กรอบ